เคล็ดลับดีๆ จัดการกับลูกน้อยให้นอนง่ายขึ้น
โดย ชลธิชา จันทร์วิบูลย์
ทบทวนบทความโดย ทีม Hello คุณหมอ
เคล็ดลับดีๆ จัดการกับลูกน้อยให้นอนง่ายขึ้น
ปัญหาการนอนของเด็กๆ เป็นปัญหาที่พบได้ทุกยุค ทุกสมัยจริงๆ เด็กส่วนใหญ่ไม่ค่อยอยากนอนหลับ อยากวิ่งเล่น ดูทีวี เล่นเกมส์ แต่การนอนไม่เพียงพอก็จะส่งผลกระทบต่อเด็กมากมายทั้งพัฒนาการ การเจริญเติบโตของร่างกาย อารมณ์ วันนี้เรามีเคล็ดลับดีๆ ที่จะช่วย จัดการกับลูกน้อยให้นอนง่ายขึ้น คุณพ่อคุณแม่มือใหม่ที่เจอปัญหาลูกรักนอนยากลองทำตาม
เคล็ดลับดีๆ จัดการกับลูกน้อยให้นอนง่ายขึ้น
เมื่อพูดถึงเรื่องเด็กและการนอน สิ่งที่พ่อแม่ควรให้ความสำคัญคือ ทำอย่างไรให้เด็กๆ นอนตรงเวลา และนอนให้เพียงพอ พ่อแม่เกือบทุกคนมักเจอกับปัญหาในการเอาลูกเข้านอน ความจริงแล้วเด็กต้องการการนอนหลับที่มากกว่าผู้ใหญ่ แต่พวกเขากลับนอนยากกันเหลือเกิน ไม่ยอมเข้านอน ซึ่งทำให้เกิดปัญหาในการนอนไม่พอตามมา วันนี้เราจะพาคุณแม่มือใหม่ไปเรียนรู้วิธีง่ายๆ ที่จะช่วยให้ลูกรักนอนได้ง่ายขึ้น
เด็กควรนอนกี่ชั่วโมง
เด็กอายุ 1-4 สัปดาห์ ต้องการการนอนหลับ 16-17 ชั่วโมงต่อวัน แต่ทารกที่เพิ่งเกิดจะยังไม่มีตารางเวลาการนอนที่ชัดเจน ช่วงเวลาการนอนหลับและตื่นนอนก็อาจจะมีการเปลี่ยนไปในแต่ละวัน
4-12 เดือน ต้องการการนอนหลับประมาณ 14-15 ชั่วโมงต่อวัน ทารกในช่วงวัยนี้มีเริ่มมีการเรียนรู้ช่วงเวลาในการนอนแล้ว ดังนั้นก็จะนอนกลางคืนเป็นส่วนใหญ่ และจะมีงีบหลับประมาณ 3 ครั้งในตอนกลางวัน และช่วงวัยนี้เป็นช่วงวัยที่สำคัญที่ลูกน้อยจะเรียนรู้พฤติกรรมการนอนที่ดี
1-3 ขวบ เด็กช่วงวัยนี้ต้องการการนอน 12-14 ชั่วโมงต่อวัน แต่ระยะเวลาการนอนอาจจะน้อยลงไปตามสิ่งแวดล้อมรอบๆ ตัวเด็ก เช่น หากมีพี่น้องอาจจะเล่นกันเพลินและเวลานอนน้อยลง ในช่วงอายุนี้จะไม่งีบหลับช่วงเช้าและเย็น แต่จะงีบหลับ 1 ครั้งตอนกลางวันเท่านั้น
3-6 ขวบ ต้องการการนอนหลับ 11-12 ชั่วโมงต่อวัน เด็กในช่วงวัยนี้บางคนยังต้องการการงีบหลับระหว่างวันอยู่
7-12 ปี เด็กๆ ในวัยนี้มีการเรียนรู้เรื่องเวลาการนอนที่ชัดเจนแล้ว และต้องการการนอนหลับ 10-12 ชั่วโมงต่อวัน แต่ความจริงอาจจะได้นอนเพียง 9-10 ชั่วโมงเพราะต้องตื่นเช้าเพื่อเตรียมตัวไปโรงเรียน
13-18 ปี ในช่วงวัยรุ่นนี้ต้องการการนอนหลับ 8-10 ชั่วโมง แต่ในความเป็นจริงอาจจะไม่ได้นอนครบตามนี้เพราะการบ้าน หรือกิจกรรมที่ต้องทำหลังเลิกเรียน
วิธีช่วยให้ลูกน้อยหลับง่าย
เมื่อลูกน้อยนอนไม่เป็นเวลาก็จะส่งผลไปถึงพ่อแม่ด้วย ดังนั้นอันดับแรกพ่อแม่ควรสร้างตารางการนอนที่ชัดเจนให้ลูกน้อย เพื่อทำให้เขารู้ว่าเวลานี้คือเวลานอน โดยเริ่มจาก เมื่อถึงเวลานอนของลูกน้อยควรปิดโทรทัศน์ ลดแสงไฟ เปิดเพลงสบายๆ ที่ช่วยให้เขานอนได้ง่ายขึ้น นอกจากนี้ก็ควรสร้างบรรยากาศในห้องให้เงียบด้วยการเบาเสียงพูดลง เดินเบาลง ซึ่งจะทำให้เด็กๆ รับรู้ได้ว่าใกล้ถึงเวลานอนแล้ว
กิจวัตรในการนอน อาบน้ำให้ลูกน้อยเพื่อให้เขาได้รู้สึกสบายตัว ใส่ชุดนอน แปรงฟัน เล่านินทานก่อนนอน อาจจะมีจุ๊บแก้มบอกฝันดีก่อนนอนเพื่อให้รู้ว่า ถึงเวลาเข้านอนแล้ว กิจวัตรในการเข้านอนสามารถปรับเปลี่ยนได้ตามนิสัยลูกๆ และเลือกสิ่งที่เข้ากับลูกมากที่สุด จริงๆ แล้วตัวกิจกรรมที่ทำทุกวันไม่ได้สำคัญเท่าความสม่ำเสมอ ดังนั้นพ่อแม่ควรทำทุกวันเพื่อให้ลูกๆ เข้านอนได้ตรงเวลา
สร้างบรรยากาศ การสร้างบรรยากาศที่เหมาะแก่การนอนกลับให้ลูกน้อยจะทำให้เขาหลับสบายมากขึ้น โดยเริ่มจากห้องนอน ควรเป็นห้องที่อากาศถ่ายเทได้สะดวก ไม่อบอ้าว ความสว่างและมืดขึ้นอยู่กับเด็กแต่ละคน เด็กบางคนไม่ชอบห้องที่มืดดังนั้นพ่อแม่ควรสังเกตุว่าลูกชอบแบบใด และปรับห้องให้ตรงตามความต้องการของลูก
ไม่ควรมีโทรทัศน์ เครื่องเล่นเกมส์ คอมพิวเตอร์ในห้องนอน เพราะอุปกรณ์เหล่าจะดึงดูดความสนใจของเด็กๆ ทำให้พวกเขามีความรู้สึกไม่อยากนอน หรืออยากจะเล่นมันมากกว่า และที่ทำสัญควรหยุดเล่นอุปกรณ์เหล่านี้ก่อนนอนอย่างน้อย 1 ชั่วโมง
การออกกำลังกาย การออกกำลังกายนอกจากจะเป็นสิ่งที่ทำให้ร่างกายแข็งแรงแล้ว ยังช่วยให้เด็กๆ อยากนอน หรือนอนได้ง่ายขึ้นอีกด้วย ดังนั้นพ่อแม่ควรสนับสนุนหรือพาพวกเขาไปออกกำลังกายเป็นประจำ และควรออกกำลังกายให้เสร็จก่อนเวลานอน 3 ชั่วโมง ไม่อย่างนั้น เอนดอร์ฟิน (Endorphin) ที่หลั่งออกมาตอนออกกำลังกายจะทำให้เขาไม่อยากนอน
หลีกเลี่ยงคาเฟอีนและอาหารก่อนนอน จริงๆ แล้วคาเฟอีนไม่ได้มีความจำเป็นสำหรับเด็กๆ แต่พวกเขาอาจจะได้คาเฟอีนจากพวกเครื่องดื่มบางชนิด เช่น น้ำอัดลม ชาเขียว จึงไม่ควรให้เด็กๆ กินเครื่องดื่มที่มีน้ำตาลมากหรือคาเฟอีนก่อนเวลานอน 3 ชั่วโมง หากเด็กๆ รู้สึกหิวตอนก่อนจะนอนคุณอาจเลือกเป็นนมอุ่นๆ ผลไม้ หรือแครกเกอร์ให้พวกเขาแทน
สังเกตพฤติกรรมการนอนของลูกๆ ว่ามีอาการ Sleep disorders หรือไม่ หากเราทำตามข้ออื่นๆ แล้วแต่ลูกยังนอนหลับยาก เขาอาจจะมีอาการ Sleep disorders นอกจากนี้ยังต้องสังเกตพฤติกรรมอื่นๆ ระหว่างวันด้วย เช่น มีอาการเหนื่อยหรือเปล่า มีปัญหาเรื่องพฤติกรรมที่บ้านและที่โรงเรียนไหม หรือไม่มีสมาธิเวลาทำการบ้านอ่านหนังสือ หากมีอาการดังกล่าวควรปรึกษาแพทย์
moviesdoofree หนังใหม่ หนังเก่า ดูหนัง ฟรีไม่ต้องสมัครสมาชิก
|