[x] ปิดหน้าต่างนี้
Powered by ATOMYMAXSITE 2.9
โรงเรียนบ้านกลาง นาแห้ว
ยินดีต้อนรับคุณ บุคคลทั่วไป  
English Chinese (Simplified) Chinese (Traditional) French German Italian Japanese Korean Portuguese Russian Spanish Vietnamese Thai     
ค้นหา   
แปลภาษาจาก google
͹ͤ :



  

   เว็บบอร์ด >> ห้องนั่งเล่น >>
สภาทนายฯก้าวยุคไอที มุ่งช่วยเหลือคนยากไร้  VIEW : 106    
โดย ปอนด์

UID : ไม่มีข้อมูล
โพสแล้ว : 653
ตอบแล้ว :
ระดับ : 20
Exp : 73%
ออฟไลน์ :
IP : xxx

 
เมื่อ : พฤหัสบดี ที่ 5 เดือน มกราคม พ.ศ.2566 เวลา 14:56:51    ปักหมุดและแบ่งปัน

สภาทนายฯก้าวยุคไอที มุ่งช่วยเหลือคนยากไร้

สภาทนายความในพระบรมราชูปถัมภ์ ในปีพ.ศ.2566 มี ดร.วิเชียร ชุปไธสง เป็นนายกฯ นายสุนทร พยัคฆ์ เป็นเลขาธิการฯ และนายวีรศักดิ์ โชติวานิช เป็นอุปนายกฝ่ายเทคโนโลยีและสารสนเทศ พร้อมทีมงานทนายความที่มาจากการเลือกตั้งของสมาชิก เป็นหนึ่งในองค์กรที่มุ่งมั่นพัฒนาน้าเทคโนโลยีสมัยใหม่มาใช้ในการบริหารจัดการองค์กร และระบบข้อมูลข่าวสารทางอิเล็กทรอนิกส์

เป้าหมายหลักการพลิกโฉมของสภาทนายความฯสู่ระบบดิจิทัล เป็นนโยบายและภารกิจหลักขององค์กร ภายใต้การบริหารงานของ ดร.วิเชียร ชุบไธสง นายกสภาทนายความฯ ที่ต้องการปรับปรุงและพัฒนาระบบเทคโนโลยีและสารสนเทศอย่างเร่งด่วน โดยนำเทคโนโลยีระบบ Digital และ Blockchain มาใช้ในการทำธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ เพื่อให้บริการทนายความและเพิ่มช่องทางการจัดทำใบอนุญาตให้เป็นทนายความแบบอิเล็ก ทรอนิกส์ เพื่ออำนวยความสะดวกให้กับสมาชิกทั่วประเทศ โดยไม่ต้องเสียเวลาและค่าใช้จ่ายในการเดินทางมายื่นเอกสารด้วยตนเอง

มีการใช้ระบบลายมือชื่อดิจิทัล ก้ากับในธุรกรรมออนไลน์เต็มรูปแบบ ทำให้ธุรกรรมและข้อมูลดิจิทัลที่เกิดขึ้นมีผลเป็นต้นฉบับตามกฎหมาย สามารถตรวจสอบเพื่อยืนยันใบอนุญาตให้เป็นทนายความได้ทันทีด้วยข้อมูลปัจจุบัน ซึ่งประชาชนทั่วไปสามารถตรวจสอบสถานภาพ ทนายความเบื้องต้นผ่านเว็บไซต์สภาทนายความ ป้องกันการแอบอ้างเป็นทนายความได้

หลังเกิดข่าวครึกโครม “คดีทนายไก่หมุน” กลายเป็นประเด็นสะเทือนวงการวิชาชีพทนายความ และกระบวน การยุติธรรม การจัดทำใบอนุญาตทนายความอิเล็กทรอนิกส์ จึงถูกหยิบมาเป็นเครื่องมือในการป้องกันทนายความปลอมสภาทนายฯก้าวยุคไอที มุ่งช่วยเหลือคนยากไร้

ดร.วิเชียร กล่าวว่า เมื่อตนเข้ามาบริหารงานในสภาทนาย

ความได้มีการตั้งคณะทำงานขึ้นมา เพื่อจัดทำระบบอิเล็ก ทรอนิกส์ โดยพัฒนาและติดตั้งระบบใบอนุญาตทนายความบนแพลตฟอร์ม Blockchain เพื่อใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลในการที่จะสร้างบรรทัดฐานข้อมูลใหม่ ข้อมูลตรงนี้จะเป็นข้อมูลเบื้องต้นเกี่ยวกับสถานะทนายความของสมาชิกทนายความทั้งหมดที่มีถึง 80, 000 กว่าคน เพื่อป้องกันปัญหาการแอบอ้างเป็นทนายความ โดยในอนาคตจะมีการเชื่อมโยงข้อมูลกับศาลยุติธรรม เพื่อให้ตรวจสอบสถานะว่าทนายความคนนั้นๆ ถูกพักใบอนุญาต ถูกลบชื่อหรือเป็นทนาย ความจริงหรือไม่ ขณะนี้ระบบงานนี้เสร็จลุล่วงแล้ว จะมีทดสอบการใช้งานช่วงก่อนปีใหม่

แม้ขณะนี้ประชาชนจะยังไม่สามารถสืบค้นข้อมูลได้โดยตรง แต่ปี 2566 สภาทนายความจะเพิ่มการบริการพี่น้องประชาชน โดยจะมีแอปของสภาทนายให้ประชาขนตรวจสอบได้เองอีกด้วย สภาทนายความฯ ยุคไอที เทคโนโลยีต้องล้ำหน้า

ส่วนงานช่วยเหลือประชาชนที่ยากไร้ และไม่ได้รับความเป็นธรรม เราจะมีเจ้าหน้าที่มอนิเตอร์เหตุการณ์สำคัญแล้วรายงานยังผู้บริหารสภาทนาย เราจะส่งทนายความเข้าไปช่วยเหลือทันที ไม่ต้องรอร้องขอ และจัดทนาย ความอาสาประจำส่วนราชการ ทนายความขอแรง เพื่อช่วยประชาขนที่ไม่มีเงินจ้างทนาย

ดร.วิเชียร เล่าว่า ก่อนหน้านี้ ตนได้พบกับนายโชติวัฒน์ เหลืองประเสริฐ ประธานศาลฎีกา เพื่อขอเพิ่มค่าตอบแทนทนายความขอแรง ที่ผ่านมาเป็นระบบดุลยพินิจของศาล มีแต่ขั้นสูงไม่กำหนดขั้นต่ำ จึงไม่มีความแน่นอน ทางศาลจึงขอให้สภาทนายความเพิ่มมาตรฐานทนายความอาสาให้มาขึ้น ซึ่งเราดำเนินการแล้ว ทนายความและที่ปรึกษากฎหมายคดีเยาวชนและครอบ ครัวที่ผ่านการอบรม จะได้รับค่าตอบแทนมากขึ้น

“การเพิ่มเทคโนโลยีในงานสภาทนายความ และการเพิ่มคุณภาพทนายความอาสา จะเป็นการเพิ่มประสิทธิภาพในการช่วยเหลือประชาขนทางคดีความ ให้มีความรวดเร็วและให้เป็นธรรมอย่างทั่วถึง นอกจากนี้ยังได้พบกับ น.ส.นารี ตัณเสถียร อัยการสูงสุด เพื่อขอทำบันทึกเอ็มโอยู การแลกเปลี่ยนข้อมูลทางวิชาการระหว่างสภาทนายกับสำนักงานอัยการสูงสุด เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการช่วยเหลือประชาชน ทั้งคดีแพ่ง คดีอาญา คดีครอบครัว คดีปกครอง ให้มากขึ้น” ดร.วิเชียรกล่าว.

ขอบคุณแหล่งที่มา : thairath.co.th


ติดตามข่าวสารได้ที่ have-a-look.net