[x] ปิดหน้าต่างนี้
Powered by ATOMYMAXSITE 2.9
โรงเรียนบ้านกลาง นาแห้ว
ระบบสมาชิก
Username :
Password :
[ สมัครสมาชิก ] | [ ลืมรหัสผ่าน ]
สมาชิกทั้งหมด 3 คน
สมาชิกที่กำลังออนไลน์ 0 คน
ข้อมูลผู้บริหาร
หมวดหมู่ blog
ข้อมูลเพิ่มเติม
 
ค้นหาจาก google

 

  

   เว็บบอร์ด >> ห้องนั่งเล่น >>
ประโยชน์ของ “แมกนีเซียม” หาได้จากอาหารชนิดใดบ้าง  VIEW : 120    
โดย ปอนด์

UID : ไม่มีข้อมูล
โพสแล้ว : 653
ตอบแล้ว :
ระดับ : 20
Exp : 73%
ออฟไลน์ :
IP : xxx

 
เมื่อ : อาทิตย์ ที่ 6 เดือน พฤศจิกายน พ.ศ.2565 เวลา 09:27:03    ปักหมุดและแบ่งปัน

ประโยชน์ของ “แมกนีเซียม” หาได้จากอาหารชนิดใดบ้าง

ประโยชน์ของ “แมกนีเซียมเป็นแร่ธาตุสำคัญที่ช่วยให้อวัยวะส่วนต่างๆ ของร่างกาย เช่น หัวใจ กระดูก กล้ามเนื้อ เส้นประสาท ทำงานได้อย่างราบรื่น แต่เนื่องจากร่างกายไม่สามารถผลิตแมกนีเซียมเองได้ จึงควรเลือกรับประทานอาหารที่มีแมกนีเซียมสูงเพื่อให้ได้รับแร่ธาตุชนิดนี้เพียงพอต่อความต้องการของร่างกายในแต่ละวัน แหล่งอาหารที่มีแมกนีเซียม อาจพบได้ในพืชตระกูลถั่ว เมล็ดพืช ธัญพืชเต็มเมล็ด ผักใบเขียว ปลาบางชนิด นม โยเกิร์ต ผลิตภัณฑ์จากนม ดาร์กช็อกโกแลต เป็นต้น

ประโยชน์ของแมกนีเซียมต่อสุขภาพ
แมกนีเซียม (Magnesium) เป็นแร่ธาตุที่มีความจำเป็นต่อการทำงานของระบบต่าง ๆ ในร่างกาย ช่วยให้กล้ามเนื้อและเส้นประสาททำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ ช่วยควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดและความดันโลหิตให้อยู่ในเกณฑ์ที่เหมาะสม ทั้งยังใช้เสริมสร้างโปรตีน กระดูก และดีเอ็นเอให้สมบูรณ์แข็งแรงด้วย

หากร่างกายขาดแมกนีเซียมเป็นเวลานานอาจทำให้ระดับแคลเซียมและโพแทสเซียมน้อยลงตามไปด้วย เนื่องจากแมกนีเซียมมีหน้าที่ช่วยดูดซึมแร่ธาตุสองชนิดนี้เข้าสู่ร่างกายและลำเลียงแคลเซียมและโพแทสเซียมเข้าและออกจากเซลล์ต่าง ๆ อีกทั้งการขาดแมกนีเซียมยังอาจทำให้เกิดอาการปวดศีรษะ ไม่อยากอาหาร คลื่นไส้ อาเจียน อ่อนเพลีย ไม่มีเรี่ยวแรง เป็นต้น หากมีภาวะขาดแมกนีเซียมรุนแรง อาจทำให้เกิดอาการชา ปวดกล้ามเนื้อ ชัก บุคลิกเปลี่ยนแปลง และหัวใจเต้นผิดจังหวะได้

ผู้ที่มีภาวะขาดแร่ธาตุแมกนีเซียม อาจมีความเสี่ยงในการเกิดภาวะต่อไปนี้

ระดับความดันโลหิตสูง
อาการไมเกรน
โรคหัวใจ
โรคหลอดเลือดสมอง
โรคเบาหวานชนิดที่ 2
โรคกระดูกพรุน
ปริมาณแมกนีเซียมที่ร่างกายต้องการต่อวัน
ปริมาณแมกนีเซียมที่ร่างกายต้องการต่อวันของคนในแต่ละช่วงวัย อาจแบ่งได้ดังนี้

อายุ 1-3 ปี ควรได้รับแมกนีเซียม 80 มิลลิกรัม/วัน
อายุ 4–8 ปี ควรได้รับแมกนีเซียม 130 มิลลิกรัม/วัน
อายุ 9–13 ปี ควรได้รับแมกนีเซียม 240 มิลลิกรัม/วัน
อายุ 14-18 ปี ผู้ชายควรได้รับแมกนีเซียม 410 มิลลิกรัม/วัน และหญิงควรได้รับแมกนีเซียม 360 มิลลิกรัม/วัน
อายุ 19-30 ปี ผู้ชายควรได้รับแมกนีเซียม 400 มิลลิกรัม/วัน และหญิงควรได้รับแมกนีเซียม 310 มิลลิกรัม/วัน
อายุ 31 ปีขึ้นไป ผู้ชายควรได้รับแมกนีเซียม 420 มิลลิกรัม/วัน และหญิงควรได้รับแมกนีเซียม 320 มิลลิกรัม/วัน
คนส่วนใหญ่จะได้รับแมกนีเซียมที่เพียงพอต่อความต้องการของร่างกายจากการรับประทานอาหารทั่วไปอยู่แล้วจึงไม่ต้องรับประทานแมกนีเซียมในรูปแบบอาหารเสริม และแม้ว่าร่างกายจะได้รับแมกนีเซียมจากอาหารมากเกินไป ก็สามารถขับแมกนีเซียมส่วนเกินออกจากร่างกายได้ผ่านปัสสาวะ

แมกนีเซียม อาหาร มีอะไรบ้าง
อาหารที่อุดมไปด้วยแมกนีเซียมที่มีประโยชน์ต่อร่างกาย อาจมีดังนี้ประโยชน์ของ "แมกนีเซียม" หาได้จากอาหารชนิดใดบ้าง

ถั่วและเมล็ดพืช
ถั่วและเมล็ดพืช เช่น อัลมอนด์ ถั่วลิสง เม็ดมะม่วงหิมพานต์ เมล็ดแฟลกซ์ เป็นแหล่งแมกนีเซียมชั้นดี ทั้งยังมีฤทธิ์ต้านอักเสบ ดีต่อสุขภาพหัวใจ และมีส่วนช่วยลดความอยากอาหารเมื่อรับประทานเป็นของว่าง

ตัวอย่างปริมาณแมกนีเซียมจากถั่วและเมล็ดพืช เช่น

เมล็ดฟักทอง ปริมาณ 100 กรัม มีแมกนีเซียมประมาณ 592 มิลลิกรัม
เม็ดมะม่วงหิมพานต์ ปริมาณ 100 กรัม มีแมกนีเซียมประมาณ 292 มิลลิกรัม
อัลมอนด์ ปริมาณ 100 กรัม มีแมกนีเซียมประมาณ 258 มิลลิกรัม
เมล็ดแฟลกซ์ ปริมาณ 1 ช้อนโต๊ะ มีแมกนีเซียมประมาณ 40 มิลลิกรัม
ปลา
ปลาที่มีกรดไขมันโอเมก้า 3 เช่น ปลาทูน่า ปลาแมคเคอเรล ปลาแซลมอน ปลาอินทรี มักมีปริมาณแมกนีเซียมสูง มีส่วนช่วยในการลดความเสี่ยงของการเกิดโรคเรื้อรังบางชนิด โดยเฉพาะโรคหัวใจ

ตัวอย่างปริมาณแมกนีเซียมจากปลา เช่น

ปลาแซลมอน ปริมาณ 100 กรัม มีแมกนีเซียมประมาณ 95 มิลลิกรัม
ปลาอินทรี ปริมาณ 100 กรัม มีแมกนีเซียมประมาณ 33 มิลลิกรัม
ปลาทูน่า ปริมาณ 100 กรัม มีแมกนีเซียมประมาณ 22.7 มิลลิกรัม
นมและผลิตภัณฑ์จากนม
นมและผลิตภัณฑ์จากนม เช่น โยเกิร์ต เป็นแหล่งรวมสารอาหารและแร่ธาตุหลายชนิด เช่น แมกนีเซียม แคลเซียม ที่ช่วยเสริมสร้างการทำงานของร่างกาย ช่วยให้กระดูกและฟันแข็งแรง ทั้งยังเป็นแหล่งโปรตีนที่มีกรดอะมิโนซึ่งช่วยรักษาเนื้อเยื่อและเสริมสร้างกล้ามเนื้อ นอกจากนี้ ในโยเกิร์ตยังอุดมไปด้วยโพรไบโอติกส์ (Probiotics) ที่ช่วยบำรุงระบบขับถ่ายด้วย

ตัวอย่างปริมาณแมกนีเซียมจากนมและผลิตภัณฑ์จากนม เช่น

นมไม่มีไขมัน ปริมาณ 100 กรัม มีแมกนีเซียมประมาณ 12.5 มิลลิกรัม
โยเกิร์ต ปริมาณ 100 กรัม มีแมกนีเซียมประมาณ 11.4 มิลลิกรัม
คอทเทจชีส ไขมันต่ำ 100 กรัม มีแมกนีเซียมประมาณ 8.9 มิลลิกรัม
ผักใบเขียว
ผักใบเขียว เช่น ปวยเล้ง ผักคะน้า กะหล่ำปลี มีวิตามินและแร่ธาตุมากมาย เช่น วิตามินเอ วิตามินซี วิตามินเค ธาตุเหล็ก รวมไปถึงแมกนีเซียม ที่มีคุณสมบัติต้านอนุมูลอิสระ ช่วยลดความเสียหายของเซลล์จากการถูกอนุมูลอิสระทำลาย และอาจลดความเสี่ยงในการเกิดโรคมะเร็งได้

ตัวอย่างปริมาณแมกนีเซียมจากผักใบเขียว เช่น

ปวยเล้ง ปริมาณ 100 กรัม มีแมกนีเซียมประมาณ 79 มิลลิกรัม
ผักคะน้า ปริมาณ 100 กรัม มีแมกนีเซียมประมาณ 32.7 มิลลิกรัม
กะหล่ำปลี ปริมาณ 100 กรัม มีแมกนีเซียมประมาณ 27 มิลลิกรัม
ดาร์กช็อกโกแลต
ดาร์กช็อกโกแลตปริมาณ 100 กรัม มีแมกนีเซียมประมาณ 31 มิลลิกรัม และมีแร่ธาตุอื่น ๆ ที่เป็นประโยชน์ เช่น แคลเซียม ธาตุเหล็ก ฟอสฟอรัส อีกทั้งยังมีพรีไบโอติกส์ (Prebiotics) ที่เป็นแหล่งอาหารของแบคทีเรียในลำไส้ ช่วยให้ระบบขับถ่ายทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ

อะโวคาโด
อะโวคาโดปริมาณ 100 กรัม มีแมกนีเซียมประมาณ 29 มิลลิกรัม และมีวิตามินและแร่ธาตุอื่น ๆ เช่น วิตามินเอ วิตามินบี วิตามินเค โพแทสเซียม แมงกานีส ทองแดง ทั้งยังอุดมไปด้วยไขมันไม่อิ่มตัวเชิงเดี่ยวซึ่งเป็นประโยชน์ต่อสุขภาพหัวใจและสมอง นอกจากนี้ อะโวคาโดยังมีใยอาหารสูง จึงมีส่วนช่วยในการขับถ่าย เหมาะสำหรับผู้ที่กำลังควบคุมน้ำหนัก

ข้อควรระวังในการบริโภคแมกนีเซียม
ข้อควรระวังในการบริโภคแมกนีเซียม มีดังนี้

การรับประทานอาหารเสริมแมกนีเซียมเพื่อบรรเทาอาการปวดกล้ามเนื้อร่วมกับการใช้ยารักษาโรคบางชนิด เช่น ยาขับปัสสาวะ ยารักษาโรคหัวใจ ยาปฏิชีวนะ อาจส่งผลให้ยาออกฤทธิ์ได้ไม่เต็มที่ จึงควรปรึกษาคุณหมอทุกครั้งก่อนใช้ยาร่วมกับอาหารเสริมแมกนีเซียม
ผู้ที่มีโรคประจำตัว เช่น โรคเบาหวาน โรคเกี่ยวกับลำไส้ โรคหัวใจ ภาวะที่หัวใจเต้นช้าลงหรือมีจังหวะผิดปกติ (Heart block) โรคไต โรคลำไส้อุดตัน (Intestinal Obstruction) โรคกล้ามเนื้ออ่อนแรง (Myasthenia gravis) ควรหลีกเลี่ยงการใช้อาหารเสริมแมกนีเซียม
ควรรับประทานอาหารเสริมแมกนีเซียมในปริมาณที่เหมาะสม เพราะหากร่างกายได้รับแมกนีเซียมมากเกินไป อาจทำให้มีแมกนีเซียมส่วนเกินสะสมในร่างกาย และส่งผลให้เกิดอาการไม่พึงประสงค์ เช่น คลื่นไส้ ตะคริว ท้องเสีย หัวใจเต้นผิดปกติ ความดันโลหิตต่ำ กล้ามเนื้ออ่อนแรง โดยปริมาณอาหารเสริมแมกนีเซียมสูงสุดที่ร่างกายควรได้รับต่อวัน มีดังนี้
เด็กอายุ 1-3 ปี ไม่ควรเกิน 65 มิลลิกรัม/วัน
เด็กอายุ 4-8 ปี ไม่ควรเกิน 110 มิลลิกรัม/วัน
เด็กอายุ 9 ปีขึ้นไปและผู้ใหญ่ ไม่ควรเกิน 350 มิลลิกรัม/วันแมกนีเซียม” หาได้จากอาหารชนิดใดบ้าง

ขอบคุณแหล่งที่มา : thairath.co.th


ติดตามข่าวสาร ได้ที่  : thaigoodherbal.com





Power by : ATOMYMAXSITE 2.9
โรงเรียนบ้านกลาง นาแห้ว หมู่8 ตำบลนาพึง อำเภอนาแห้ว จังหวัดเลย สพป.ลย3
webmaster โรงเรียนบ้านกลาง นาแห้ว หมู่8 ตำบลนาพึง อำเภอนาแห้ว จังหวัดเลย สพป.ลย3@2010-2011 under GNU General Public License Edit&Applied by Chudsagorn phikulthong