[x] ปิดหน้าต่างนี้
Powered by ATOMYMAXSITE 2.9
โรงเรียนบ้านกลาง นาแห้ว
ระบบสมาชิก
Username :
Password :
[ สมัครสมาชิก ] | [ ลืมรหัสผ่าน ]
สมาชิกทั้งหมด 3 คน
สมาชิกที่กำลังออนไลน์ 0 คน
เมนูหลัก
link banner
e-Learning

ข้อมูลผู้บริหาร
หมวดหมู่ blog
ค้นหาจาก google

 

  

   เว็บบอร์ด >> ห้องนั่งเล่น >>
8 วิธีช่วยเหลือผู้ป่วย “สำลักอาหาร-อาหารติดคอ”  VIEW : 62    
โดย 123

UID : ไม่มีข้อมูล
โพสแล้ว : 2597
ตอบแล้ว :
ระดับ : 41
Exp : 46%
ออฟไลน์ :
IP : xxx

 
เมื่อ : จันทร์ ที่ 8 เดือน พฤษภาคม พ.ศ.2566 เวลา 13:59:32    ปักหมุดและแบ่งปัน

8 วิธีช่วยเหลือผู้ป่วย “สำลักอาหาร-อาหารติดคอ” ที่ถูกต้อง

ทำไม “ผู้สูงอายุ” เสี่ยง “อาหารติดคอ” มากกว่าวัยอื่นอื่นๆ?

จริงๆ แล้วปัญหาการสำลักอาหาร หรืออาหารติดคอสามารถเกิดขึ้นได้กับทุกเพศทุกวัย แต่ส่วนใหญ่ที่เกิดขึ้นอาจเป็นเด็ก และผู้สูงอายุ เด็กเล็กอาจจะเป็นเพราะขนาดของอาหารใหญ่เกินไปแล้วเผลอกลืนลงคอจนทำให้สำลัก หรือติดเล่นจนทำให้กลืนอาหารผิดจังหวะ แต่สำหรับผู้ใหญ่วัยสูงอายุ ก็มีความเสี่ยงต่อการสำลักอาหาร หรืออาหารติดคอ เพราะเป็นวัยที่น้ำลายในปากน้อยลง ทำให้อาหารอาจติดคอได้ง่ายเวลากลืนนั่นเอง

วิธีช่วยเหลือผู้ป่วย สำลักอาหาร-อาหารติดคอ
หากผู้ป่วยเริ่มแสดงอาการทรมาน ไม่สามารถส่งเสียงได้ ลองทุบหลังตรงระหว่างไหล่ทั้งสองข้างก่อน 5 ครั้ง ด้วยแรงพอประมาณ หากอาหารยังลงไปไม่ลึกมาก อาจจะออกมาทางปากได้

หากอาหารยังไม่ออกมา ให้เข้าทางด้านหลังของผู้ป่วย โอบผู้ป่วยจากทางด้านหลัง

เอามือประสานกัน กดไปที่หน้าอก ยกผู้ป่วยเล็กน้อยแล้วเขย่าตัวเพื่อให้ผู้ป่วยสำลักอาหารออกมา

ทั้งหมดนี้ควรรีบทำภายใน 3-5 นาทีที่แสดงอาการ เพราะอาจอันตรายถึงชีวิตได้

หากผู้ป่วยมีอาการหายใจไม่ได้ พูดไม่ออก ให้จับผู้ป่วยนอนหงายบนพื้น เปิดทางเดินหายใจ ยกปลายคางขึ้น และ อีกมือหนึ่งกดหน้าผากลง เป่าปากเพื่อช่วยในการหายใจ

ถ้าลองเป่าปากแล้วหน้าอกไม่ยกขึ้น ให้ใช้มือกดที่ท้อง ในท่านอนหงาย 6-10 ครั้ง

ถ้าเป็นเด็กเล็กให้ใช้วิธีตบระหว่างสะบักทั้ง 2 ข้าง สลับกับกดหน้าอก และคอยตรวจเช็กช่องปาก ถ้ามองเห็นสิ่งแปลกปลอมให้ใช้นิ้วเกี่ยวออกมา

หากผู้ป่วยยังคงรู้สึกตัว พูดได้ และหายใจได้ตามปกติ แต่ยังรู้สึกว่ามีอาหารติดคออยู่ ให้รีบพาไปพบแพทย์ทันที

ป้องกันการสำลักอาหาร-อาหารติดคอ

  1. นั่งตัวตรงขณะกินอาหาร และหลังกินเสร็จห้ามนอนทันที
  2. กินอาหารช้าๆ เคี้ยวให้ละเอียด
  3. อย่ากินอาหารขณะเหนื่อยหรือรีบเร่ง ควรพักก่อนสัก 30 นาที
  4. อาหารที่กินควรแบ่งเป็นขนาดชิ้นเล็กๆ หรือพอดีคำ ไม่ใหญ่เกินไป
  5. ลดสิ่งรบกวนขณะกินอาหาร เช่น การพูดคุย การเดิน
  6. กินอาหารคำละ 1 ชนิด อาหารที่มีเนื้อหลากหลายชนิดใน 1 คำจะสำลักง่าย
  7. ควรกินอาหารสลับกัน เช่น อาหารที่บดเคี้ยว สลับกับอาหารเหลว
  8. อย่ากินอาหารแห้งเกินไป ควรมีน้ำซอสหรือน้ำซุปช่วยให้เนื้ออาหารชุ่มและนุ่มขึ้นภาพประกอบจาก istockphoto

    ขอบคุณรูปภาพจาก : sanook.com

    ขอบคุณแหล่งที่มา : sanook.com


    ติดตามข่าวสาร ได้ที่  : thaigoodherbal.com





Power by : ATOMYMAXSITE 2.9
โรงเรียนบ้านกลาง นาแห้ว หมู่8 ตำบลนาพึง อำเภอนาแห้ว จังหวัดเลย สพป.ลย3
webmaster โรงเรียนบ้านกลาง นาแห้ว หมู่8 ตำบลนาพึง อำเภอนาแห้ว จังหวัดเลย สพป.ลย3@2010-2011 under GNU General Public License Edit&Applied by Chudsagorn phikulthong