[x] ปิดหน้าต่างนี้
Powered by ATOMYMAXSITE 2.9
โรงเรียนบ้านกลาง นาแห้ว
ระบบสมาชิก
Username :
Password :
[ สมัครสมาชิก ] | [ ลืมรหัสผ่าน ]
สมาชิกทั้งหมด 3 คน
สมาชิกที่กำลังออนไลน์ 0 คน
เมนูหลัก
link banner
e-Learning

ข้อมูลผู้บริหาร
หมวดหมู่ blog
ค้นหาจาก google

 

  

   เว็บบอร์ด >> ห้องนั่งเล่น >>
มาดูกาแฟที่บราซิล  VIEW : 103    
โดย 123

UID : ไม่มีข้อมูล
โพสแล้ว : 2597
ตอบแล้ว :
ระดับ : 41
Exp : 46%
ออฟไลน์ :
IP : xxx

 
เมื่อ : เสาร์์ ที่ 1 เดือน เมษายน พ.ศ.2566 เวลา 09:52:11    ปักหมุดและแบ่งปัน

มาดูกาแฟที่บราซิล

ผมตระเวนดูสินค้าโภคภัณฑ์ ทั้งน้ำตาล ข้าวสาลี เมล็ดกาแฟ ฯลฯ ในสหพันธ์สาธารณรัฐบราซิลมาได้เกือบเดือนแล้ว ขณะที่รับใช้ผู้อ่านท่านที่เคารพอยู่นี้ ผมอยู่ในเมืองลอนดรีนาซึ่งอยู่ห่างจากกูรีตีบาเมืองหลวงของรัฐปารานา 369 กิโลเมตร หากท่านดูจากแผนที่โลก รัฐปารานาจะอยู่ทางตอนใต้ของสหพันธ์สาธารณรัฐบราซิล เฉพาะรัฐปารานามีพื้นที่ 1.99 แสนตารางกิโลเมตร

นอกจากเป็นผู้ผลิตน้ำตาลเบอร์หนึ่งของโลกแล้ว บราซิลยังเป็นผู้ผลิตกาแฟเบอร์หนึ่งของโลกเช่นกัน โดยผลิตได้มากถึง 1 ใน 3 ของกาแฟทั้งโลก บราซิลมีสวนกาแฟมากถึง 3 แสนแห่ง พื้นที่มาเท่านครราชสีมาซึ่งเป็นจังหวัดที่ใหญ่ที่สุดในประเทศไทย (2 หมื่น ตร.กม.) + จังหวัดสระแก้ว (7.1 พัน ตร.กม.) พื้นที่ปลูกกาแฟของบราซิลส่วนใหญ่ตั้งอยู่ในรัฐทางตะวันออกเฉียงใต้ของรัฐปารานา รัฐมีนัสชีไรส์ และรัฐเซาเปาลู

โปรตุเกสเป็นผู้นำต้นกาแฟเข้ามาในบราซิลในช่วงคริสต์ศตวรรษที่ 18 กาแฟบราซิลรุ่งเรืองตั้งแต่ต้นคริสต์ศตวรรษที่ 19 จนมาถึง ค.ศ.1920 บราซิลผลิตกาแฟได้มากถึงร้อยละ 80 ของกาแฟโลก แม้ว่าปัจจุบันส่วนแบ่งทางการตลาดของบราซิลจะลดลงมาอยู่ที่ร้อยละ 35 แต่จนถึงปัจจุบันบราซิลก็ยังเป็นผู้ผลิตและส่งออกกาแฟเบอร์หนึ่งของโลก (2.65 ล้านตัน) ตามมาด้วยเวียดนาม (1.77 ล้านตัน) โคลอมเบีย (8.1 แสนตัน) อินโดนีเซีย (6.6 แสนตัน) เอธิโอเปีย (3.8 แสนตัน) ส่วนประเทศไทยอยู่อันดับที่ 25 (3 หมื่นตัน)


ตลาดกาแฟโลกเติบโตขึ้นทุกปี แถมราคากาแฟก็ยังพุ่งกระฉูดส่งตูดจัมโบ้

ทำให้กาแฟเป็นธุรกิจที่มีอนาคต เท่าที่ผมตระเวนไปในบราซิลพบว่า บราซิลปลูกกาแฟพันธุ์อาราบิก้าเป็นหลัก ร้อยละ 80 เป็นเบอร์บอน คาทุย อาคาเอีย มุนโด โนโว อิคาตู ฯลฯ และอีกร้อยละ 20 เป็นโรบัสต้า ช่วงเก็บเกี่ยว ผลิตคือเดือนพฤษภาคม-กันยายน แถบตะวันออกเฉียงใต้ของบราซิลเหมาะสมกับการปลูกกาแฟมาก เพราะมีขนาดพื้นที่ สภาพอากาศ และภูมิประเทศราบเรียบ ภูเขาไม่สูงชัน จึงสามารถใช้เครื่องจักรกลทางการเกษตรหนักเข้าไปทำงานได้เป็นอย่างดี

นอกจากบราซิลแล้ว โลกพูดถึงกาแฟเวียดนามมากขึ้นทุกวัน 20 กว่าปีที่แล้ว ตอนที่ผมอายุครบ 15 ปี พ่อพาผมนั่งรถจากไทยไปทำบุญตามจังหวัดต่างๆ ของเวียดนาม ตอนนั้นผู้ว่าราชการจังหวัดของเวียดนามหลายคนเริ่มส่งเสริมการปลูกกาแฟ โดยให้เหตุผลว่ากาแฟเป็นพืชสากล ทุกประเทศในโลกนี้ดื่มกาแฟ คนรัสเซียก็ดื่ม คนแคนาดาก็ดื่ม คนสวิสก็ดื่ม แต่แผ่นดินของประเทศเหล่านี้ปลูกกาแฟไม่ได้

ครั้งหนึ่งซึ่งผมจำได้แม่นก็คือพ่อและพวกเราได้รับเชิญไปพักที่จวนของผู้ว่าราชการฮาติงห์ซึ่งเป็นจังหวัดตอนกลางของเวียดนาม พ่อกับผู้ว่าฯฮาติงห์ในสมัยนั้นคุยถึงเรื่องสินค้าเกษตรหลายตัว รวมถึงข้าวกับกาแฟ ยังคุยกันว่าต่อไปกาแฟจะเป็นพืชเกษตรสากลมากกว่าข้าวเจ้า เพราะหลายประเทศในโลกนี้ไม่ทานข้าวเจ้า แต่ทานข้าวสาลี เอาข้าวสาลีไปทำขนมปัง ข้าวสาลีปลูกในประเทศทางแถบหนาวได้ ที่สหรัฐฯก็ปลูก ที่แคนาดาก็มี หรือแม้แต่รัสเซียก็ปลูกข้าวสาลีได้เป็นจำนวนมาก ท่านผู้ว่าฯฮาติงห์ในสมัยนั้น จึงร่วมขบวนการแนวคิดเอาพืชเกษตรประเภทกาแฟมาปลูกทุกทั่วหัวระแหงในเวียดนาม

ในสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 3 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ มีการสั่งต้นกาแฟจากบราซิลมาปลูกในแผ่นดินไทย โดยปลูกที่บ้านโป่งแรด จ.จันทบุรี กาแฟจากบราซิลที่มาปลูกในจันทบุรีจึงต้องถือว่าเป็นกาแฟชุดแรกของประเทศไทย กาแฟจันทบุรีดังมานานร้อยกว่าปี แต่ในยุคนั้นคนไทยไม่ได้ทานกาแฟมาก เกษตรกรจันท์จึงหันไปปลูกพืชเกษตรที่ทำราคาได้ดีกว่า เช่น พริกไทย ทุเรียน มังคุด เงาะ ฯลฯ ชื่อเสียงของกาแฟจันทบูรก็จืดจางลงไปจนแทบไม่มีใครคิดมาก่อนเลยว่าจันทบุรีเคยเป็นแหล่งผลิตกาแฟแห่งแรกของไทย

วันนี้ผมมาอยู่ในบราซิล ในแผ่นดินแม่ของกาแฟต้นแรกของไทย.

ขอบคุณรูปภาพจาก : thairath.co.th

ขอบคุณแหล่งที่มา : thairath.co.th


ติดตามข่าวสาร ได้ที่  : thaigoodherbal.com





Power by : ATOMYMAXSITE 2.9
โรงเรียนบ้านกลาง นาแห้ว หมู่8 ตำบลนาพึง อำเภอนาแห้ว จังหวัดเลย สพป.ลย3
webmaster โรงเรียนบ้านกลาง นาแห้ว หมู่8 ตำบลนาพึง อำเภอนาแห้ว จังหวัดเลย สพป.ลย3@2010-2011 under GNU General Public License Edit&Applied by Chudsagorn phikulthong