[x] ปิดหน้าต่างนี้
Powered by ATOMYMAXSITE 2.9
โรงเรียนบ้านกลาง นาแห้ว
ระบบสมาชิก
Username :
Password :
[ สมัครสมาชิก ] | [ ลืมรหัสผ่าน ]
สมาชิกทั้งหมด 3 คน
สมาชิกที่กำลังออนไลน์ 0 คน
เมนูหลัก
link banner
e-Learning

ข้อมูลผู้บริหาร
หมวดหมู่ blog
ค้นหาจาก google

 

  

   เว็บบอร์ด >> ห้องนั่งเล่น >>
โรคเชื้อราแมว เฉพาะอย่างยิ่งแมวที่มีขนยาว  VIEW : 114    
โดย 123

UID : ไม่มีข้อมูล
โพสแล้ว : 2597
ตอบแล้ว :
ระดับ : 41
Exp : 46%
ออฟไลน์ :
IP : xxx

 
เมื่อ : เสาร์์ ที่ 12 เดือน พฤศจิกายน พ.ศ.2565 เวลา 08:36:32    ปักหมุดและแบ่งปัน

โรคเชื้อราแมว เฉพาะอย่างยิ่งแมวที่มีขนยาว

โรคเชื้อราแมว เฉพาะอย่างยิ่งแมวที่มีขนยาว
โรคผิวหนังที่เกิดจากเชื้อรา หรือ Ringworm
เป็นโรคที่พบได้บ่อยกับแมวโดยเฉพาะอย่างยิ่งแมวที่มีขนยาวอย่างเช่นพันธุ์เปอร์เซีย เชื้อราที่ก่อโรคในแมวสามารถเกิดจากเชื้อราชนิดต่างๆคือ Microsporum gypseum, Microsporum canis, Trichophyton mentagrophyte โดยเชื้อรา Microsporum canis จัดเป็นเชื้อราที่ก่อโรคชนิดหลักในแมว เชื้อราเหล่านี้จะอาศัยอยู่บนผิวหนังชั้นนอกของแมว รวมถึงบริเวณเล็บและเส้นขน โดยใช้เคอราตินของผิวหนัง เล็บและเส้นขนเป็นอาหารในการเจริญเติบโต

ในแมวปกติบางตัวสามารถพบเชื้อราได้บนตัวแมวโดยไม่ก่อให้เกิดรอยโรค ส่วนมากแมวที่อายุยังน้อย แมวแก่ แมวป่วย แมวเครียด มักจะพบความผิดปกติ ทั้งนี้เนื่องจากระบบภูมิคุ้มกันของร่างกายที่ไม่แข็งแรง ปกติแมวทั่วไปสามารถติดเชื้อราก่อโรคได้จากการสัมผัสกับแมวป่วยโดยตรง หรือสัมผัสกับสปอร์ของเชื้อราที่อยู่ในสิ่งแวดล้อม ซึ่งสปอร์ของเชื้อราสามารถอาศัยอยู่ในสิ่งแวดล้อมได้เป็นเวลานาน รอยโรคหลักๆที่สามารถพบได้คือ ขนร่วงแหว่งเป็นวงกลม ขอบเรียบ บางรายอาจจะสะเก็ดหรือมีอาการคันร่วมด้วย

การตรวจวินิจฉัยแยกแยะของโรคเชื้อรา

โรคเชื้อราแมว เฉพาะอย่างยิ่งแมวที่มีขนยาว
วินิจฉัยเบื้องต้นจากลักษณะรอยโรคบนผิวหนัง การตรวจวินิจฉัยตัวอย่างเส้นขนหรือเนื้อเยื่อใต้กล้องจุลทรรศน์ การตรวจด้วยแสงฟลูออเรสเซนส์ การเพาะเชื้อรา การรักษาเชื้อราที่ผิวหนังของแมวสามารถทำได้หลายวิธี เช่น การใช้ยากินฆ่าเชื้อรา ยาทาเฉพาะที่ ยาจุ่มตัวหรือแชมพูยาฆ่าเชื้อรา การตัดขนแมวให้สั้นระหว่างการรักษา

อย่างไรก็ตามการเลือกวิธีการรักษาขึ้นอยู่กับลักษณะความรุนแรง รอยโรค อายุของสัตว์ เป็นต้น เชื้อราที่ผิวหนังของแมวจัดเป็นความผิดปกติที่สำคัญ ดังนั้นควรควบคุมโรคโดยการรักษาทั้งบนตัวแมวและทำความสะอาดสิ่งแวดล้อมที่แมวอยู่อาศัย เนื่องจากสปอร์เชื้อราสามารถอยู่ในสิ่งแวดล้อมได้เป็นระยะเวลานาน และที่สำคัญเชื้อราผิวหนังของแมวกลุ่มนี้ยังสามารถติดต่อสู่คนเลี้ยง โดยทำให้คนเลี้ยงสามารถแสดงอาการรอยโรคทางผิวหนังได้

ขอบคุณแหล่งที่มา  : thonglorpet.com


ติดตามข่าวสาร ได้ที่  : mydeedees.com





Power by : ATOMYMAXSITE 2.9
โรงเรียนบ้านกลาง นาแห้ว หมู่8 ตำบลนาพึง อำเภอนาแห้ว จังหวัดเลย สพป.ลย3
webmaster โรงเรียนบ้านกลาง นาแห้ว หมู่8 ตำบลนาพึง อำเภอนาแห้ว จังหวัดเลย สพป.ลย3@2010-2011 under GNU General Public License Edit&Applied by Chudsagorn phikulthong