โรคตาสุนัขและแมวคืออะไรกันนะ?

แก้วตา (Lens) ของสัตว์โดยทั่วไปมีลักษณะเป็นเลนส์นูนใสมีความโค้งนูนทั้ง 2 ด้าน มีหน้าที่สำคัญร่วมกับกระจกตาในการรวมแสงไปโฟกัสบนจอประสาทตา (Retina) มีส่วนประกอบหลักเป็นน้ำและโปรตีน โดยร้อยละ 65% เป็นน้ำและอีก 35% เป็นโปรตีน ส่วนที่เหลือเป็นไขมันและแร่ธาตุอื่นๆ แต่เมื่อสัตว์เลี้ยงตัวโปรดโตขึ้นกลับพบว่าสุนัขตาขุ่นขาว ส่วนน้องแมวตาเป็นฝ้า ซึ่งอาจจะทำให้เจ้าของเกิดความกังวลเกี่ยวกับสุขภาพของสัตว์เลี้ยง วันนี้ Thonlor Pet จึงจะพาทุกคนไปทำความรู้จักกับโรคต้อกระจกในสัตว์เลี้ยงว่าคืออะไร และรักษาได้หรือไม่?
โรคต้อกระจกในสัตว์เลี้ยงคืออะไร
“ต้อกระจก” เป็นภาวะที่ใช้เรียกเลนส์ตา (แก้วตา) ที่มีความขุ่น ซึ่งมักจะเห็นเป็นสีขาวขุ่นหรือสีเหลืองผิดไปจากธรรมชาติ ไม่ว่าจะอยู่ที่ตำแหน่งไหนหรือเกิดจากสาเหตุใดก็ตาม
สาเหตุของต้อกระจกมีอะไรบ้าง
สาเหตุที่พบได้บ่อยที่สุดคือเกิดจากการเสื่อมของเลนส์ตามวัย ส่วนใหญ่พบในสุนัขอายุตั้งแต่ 5 ปีขึ้นไป
เกิดจากกรรมพันธุ์ ส่งผลให้สัตว์เลี้ยงเป็นต้อกระจกตั้งแต่อายุ 1-2 ปี
เกิดจากการได้รับอุบัติเหตุที่ดวงตาเช่นโดนกระแทก ตกจากที่สูง โดนรถชน โดนของมีคมกระแทกตา
เกิดจากโรคตาบางชนิดเช่น โรคจอประสาทตาเสื่อมหรือลอกหลุด โรคต้อหิน หรือมีการอักเสบของตาที่เกิดจากแผลบนกระจกตา
โรคทางร่างกายบางโรคเช่น โรคเบาหวาน หรือการติดเชื้อที่ทำให้เป็นต้อกระจกได้เร็วขึ้น
อาการของต้อกระจกเป็นอย่างไร
อาการของโรคตาในสุนัขและแมวมักเกิดขึ้นอย่างช้าๆ (ยกเว้นในรายที่เป็นเบาหวาน) โดยไม่แสดงอาการเจ็บป่วยใดๆ
ในช่วงแรกอาจจะยังมองไม่เห็นว่าสุนัขตาเป็นฝ้าขาว หรือน้องแมวตาขุ่นผิดปกติ แต่เมื่อเวลาผ่านไปสายตาจะเริ่มพร่ามัว เมื่อระยะเลนส์ขุ่นเต็มที่จนมองไม่เห็น ก็จะทำให้สัตว์เลี้ยงเดินชนเข้าหาเจ้าของหรือทานอาหารไม่ถูก ขึ้นบันไดได้แต่ลงบันไดไม่ได้ ในสุนัขบางตัวเมื่อมองไม่เห็นจะมีนิสัยก้าวร้าว ดุมากขึ้น เนื่องจากมีความระแวงหรือมีอารมณ์หงุดหงิดขึ้น
โรคแทรกซ้อนที่ตามมา
หากทิ้งไว้นานจนต้อกระจกแก่เกินไป อาจเกิดปัญหาโรคต้อหินขึ้นและโรคม่านตาอักเสบแทรกซ้อน ทำให้ปวดตา ตาแดงและตาบอดได้
วิธีการรักษาต้อกระจกต้องทำอย่างไร ?
ใช้ยาหยอดตาเพื่อชะลอความเสื่อมของเลนส์ เพื่อให้เลนส์ตาขุ่นช้าลง แต่ต้องเข้าใจว่าไม่มียาชนิดใดสามารถลดหรือหยุดโรคต้อกระจกได้
สามารถรักษาโรคตาในสุนัขและแมวได้ด้วยการผ่าตัดสลายต้อกระจกด้วยคลื่นเสียงความถี่สูง (Phacoemulsification) เป็นการผ่าตัดต้อกระจกแบบแผลเล็ก ซึ่งแผลมีขนาดเล็ก 3 mm (สำหรับไม่มีเลนส์เทียม) และ 4.5 mm (สำหรับแบบใส่เลนส์เทียม)
สำหรับการรักษาที่ได้ผลดีที่สุดคือการผ่าตัดเพื่อนำเอาเลนส์ที่เป็นต้อกระจกออก แล้วใส่เลนส์ตาเทียมให้กับสัตว์ป่วย ในปัจจุบันได้มีการนำเทคนิคการผ่าตัดชั้นสูง (Phacoemulsification) ที่ใช้เครื่องมือและเทคนิคในการผ่าตัดเช่นเดียวกับในการรักษาคน แต่ในสุนัขและแมวอาจจะต้องมีการวางยาสลบเพื่อความสะดวกและความปลอดภัยของสุนัขระหว่างการผ่าตัด
ขั้นตอนวินิจฉัยทำการผ่าตัด
ตรวจตา สัตวแพทย์จะตรวจวินิจฉัยดวงตาอย่างละเอียดเพื่อจำแนกชนิด ตำแหน่งและความรุนแรงของต้อกระจก รวมถึงมีการวัดความดันตา ตรวจเนื้อวุ้นตาและจอประสาทตาโดยละเอียด
ตรวจเลือด
วัดความดันเลือด
x-ray ช่องอก
คลื่นไฟฟ้าหัวใจ (สำหรับสุนัขอายุมาก)
ตรวจเบาหวาน
Ultrasound
ERG ตรวจจอประสาทตา
ข้อควรการปฎิบัติก่อนผ่าตัด
สุนัขและแมวควรอาบน้ำก่อนผ่าตัด
ควรให้สัตว์เลี้ยงรับประทานอาหารที่ย่อยง่าย
ให้ยาที่กินเป็นประจำได้ตามปกติและนำมาโรงพยาบาลด้วยเช่น ยาเบาหวาน ยาลดความดัน ยาแก้แพ้ ยาโรคหัวใจเป็นต้น
ยาที่ต้องงดก่อนการผ่าตัด 1 สัปดาห์คือยาแอสไพริน ยาหดม่านตา
ข้อควรปฎิบัติหลังการผ่าตัด
หลังผ่าตัด สัตว์เลี้ยงควรอยู่พักในโรงพยาบาลเพื่อให้สัตวแพทย์ทำการตรวจให้ละเอียดทุกวัน ประมาณ 4-7 วัน
ใส่คอลล่า กันการเกาหรือการถูตา
ไม่ให้สุนัขเห่าหรือสะบัดหน้าแรงๆ
ไม่ควรให้ขึ้นลงบันได หรืออยู่ในที่ที่มีฝุ่นควันที่อาจระคายเคืองตาได้
ป้อนยา/หยอดตา ตามที่สัตวแพทย์สั่ง
มาพบสัตวแพทย์เพื่อตรวจตามนัด
สำหรับสัตว์เลี้ยงที่มีอาการของโรคต้อกระจก ไม่ว่าจะเป็นสุนัขตาเป็นฝ้าขาว หรือจะเป็นน้องแมวตาเป็นฝ้า เจ้าของก็สามารถพาน้อง ๆ สัตว์เลี้ยงตัวโปรดมาตรวจเช็กอาการโรคตาในสุนัขและโรคตาในแมว รวมถึงสอบถามค่ารักษาตาสุนัขและแมวเบื้องต้นได้ที่โรงพยาบาลสัตว์ทองหล่อของเราได้ เพื่อวางแผนการรักษาและการผ่าตัดในขั้นตอนต่อไปอย่างเหมาะสม
ขอบคุณแหล่งที่มา : thonglorpet.com
ติดตามข่าวสาร ได้ที่ : mydeedees.com
|