[x] ปิดหน้าต่างนี้
Powered by ATOMYMAXSITE 2.9
โรงเรียนบ้านกลาง นาแห้ว
ระบบสมาชิก
Username :
Password :
[ สมัครสมาชิก ] | [ ลืมรหัสผ่าน ]
สมาชิกทั้งหมด 3 คน
สมาชิกที่กำลังออนไลน์ 0 คน
เมนูหลัก
link banner
e-Learning

ข้อมูลผู้บริหาร
หมวดหมู่ blog
ค้นหาจาก google

 

  

   เว็บบอร์ด >> ห้องนั่งเล่น >>
ส่งสัญญาณสังคม “เรียนรู้ความสูญเสีย”  VIEW : 116    
โดย ปอนด์

UID : ไม่มีข้อมูล
โพสแล้ว : 653
ตอบแล้ว :
ระดับ : 20
Exp : 73%
ออฟไลน์ :
IP : xxx

 
เมื่อ : เสาร์์ ที่ 5 เดือน พฤศจิกายน พ.ศ.2565 เวลา 18:43:54    ปักหมุดและแบ่งปัน

ส่งสัญญาณสังคม “เรียนรู้ความสูญเสีย” สู่ “พลังแก้ปัญหาความรุนแรง” ทุกมิติ

“เด็ก” เป็น “เหยื่อ” ถูกกระทำด้วยความรุนแรงทุกรูปแบบจำนวนไม่น้อยในสังคมไทยทุกวันนี้ ล่าสุดเหตุการณ์ซึ่งช็อกไปทั่วโลกที่เกิดขึ้นในพื้นที่ จ.หนองบัวลำภู เป็นภาพสะท้อนเสมือนสัญญาณเตือนภัยสังคมที่ชัดเจน รวมไปถึงเหตุการณ์พ่อแม่ทำร้ายลูก, เด็กจมน้ำ, วัยรุ่นรุมทำร้ายกัน, ครูกระทำอนาจารต่อนักเรียน และอีกหลายเหตุการณ์ที่ปรากฏเป็นข่าวสะเทือนใจ ยังไม่นับรวมอีกหลาย เคสที่ไม่ถูกตีแผ่

ส่งสัญญาณสังคม “เรียนรู้ความสูญเสีย” สู่ “พลังแก้ปัญหาความรุนแรง” ทุกมิติ
ข้อมูลจาก กรมกิจการเด็กและเยาวชน (ดย.) กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (พม.) ที่รวบรวมสถิติความรุนแรงต่อเด็ก อายุไม่เกิน 18 ปี ในช่วงปีงบประมาณ 2563-2565 ของบ้านพักเด็กและครอบครัว 77 แห่ง จากระบบส่งต่อข้อมูลผู้ใช้บริการและระบบสารสนเทศเพื่อการคุ้มครองเด็ก (Child Protection Information System : CPIS) พบ มีเด็กถูกทารุณกรรมทางร่างกาย 554 ราย ทารุณกรรมทางจิตใจ 109 ราย และล่วงละเมิดทางเพศ 1,672 ราย รวมจำนวนทั้งสิ้น 2,335 ราย

นายอนุกูล ปีดแก้ว ปลัด พม. เปิดเผยว่า ความรุนแรงต่อเด็กที่ผ่านมาถูกนำเสนอผ่านสื่อจำนวนมาก โดยเฉพาะเหตุการณ์สะเทือนใจที่ จ.หนองบัวลำภู ทั้งยังมีปัญหาเด็กเสียชีวิตจากการจมน้ำ จากอุบัติเหตุจากการถูกทำร้ายโดยคนในครอบครัว ชุมชนจาก พิษภัยยาเสพติด การพนัน การแสวงหาผลประโยชน์ทางเพศ สะท้อนให้เห็นว่า เรายังต้องร่วมกันทำงานอย่างหนักเพื่อสร้างสังคมที่ปลอดภัยสำหรับเด็ก ต้องส่งสัญญาณให้คนตระหนัก และเป็นข้อเสนอต่อรัฐบาลในการผลักดันประเด็นความปลอดภัยในเด็กให้เป็นวาระแห่งชาติ เพื่อให้สังคมและกลไกการทำงานทุกภาคส่วนเร่งขับเคลื่อนเรื่องความปลอดภัยในเด็กอย่างรอบด้าน โดยเฉพาะเด็กเล็ก เรามีมาตรฐานสถานพัฒนาเด็กปฐมวัยแห่งชาติ ที่ทำร่วมกันทั้งกระทรวงมหาดไทย (มท.) กระทรวงสาธารณสุข (สธ.) กระทรวงศึกษา ธิการ (ศธ.) และ พม. ซึ่งกำหนดมาตรฐานที่ประกอบด้วย มาตรฐานด้านการบริหารจัดการสถานพัฒนาเด็กปฐมวัย มาตรฐานครู/ผู้ดูแลเด็ก และการให้การดูแล และมาตรฐานด้านคุณภาพเด็กปฐมวัย ทั้ง 3 ส่วนนี้ต้องดำเนินการอย่างจริงจังกับสถานพัฒนาเด็กเล็กที่มีอยู่กว่า 50,000 แห่งทั่วประเทศ

ส่งสัญญาณสังคม “เรียนรู้ความสูญเสีย” สู่ “พลังแก้ปัญหาความรุนแรง” ทุกมิติ
ส่งสัญญาณสังคม “เรียนรู้ความสูญเสีย” สู่ “พลังแก้ปัญหาความรุนแรง” ทุกมิติ
“การสร้างสังคมที่ปลอดภัยสำหรับเด็กเป็นความรับผิดชอบของทุกคนและทุกภาคส่วน ข้อเสนอแนะที่ขอให้ภาคีเครือข่ายทุกภาคส่วนร่วมมือดำเนินการ 1.ร่วมกันนำนโยบายคุ้มครองเด็กสู่แนวปฏิบัติที่สร้างความปลอดภัยทุกสภาพแวดล้อม มีกลไกจัดการกับความ รุนแรงได้ทันการ 2.ร่วมพัฒนายุทธศาสตร์การคุ้มครองเด็กและขับเคลื่อนเชิงปฏิบัติการให้เกิดผลเป็นรูปธรรมทั้งระดับชาติและระดับพื้นที่ โดยเฉพาะการสนับสนุนให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (อปท.) ทุกแห่งจัดระบบและกลไกคุ้มครองเด็กระดับชุมชน 3.สร้างความตระหนักรู้เพื่อต่อสู้กับความรุนแรงต่อเด็ก 4.สนับสนุนบริการให้แก่ครอบครัว ครู ผู้ดูแลเด็กในสถานที่ต่างๆในการเลี้ยงดูและรับมือกับพฤติกรรมตามช่วงวัย 5.เสริมพลังเด็กและเยาวชนผ่านสภาเด็กและเยาวชนให้มีส่วนร่วมยุติความรุนแรงต่อเด็ก และ 6.ร่วมกันกำหนดประเด็นสังคมไทยที่ปลอดภัยสำหรับเด็ก เป็นวาระแห่งชาติ” ปลัด พม. ย้ำถึงข้อเสนอที่ต้องเร่งผลักดัน

นายอนุกูล กล่าวด้วยว่า ที่ จ.หนองบัวลำภูขณะนี้ได้มีการเยียวยาสภาพจิตใจครอบครัวผู้สูญเสียอย่างต่อเนื่อง โดยทีมชุดปฏิบัติการร่วมกับภาคีเครือข่ายและสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) จากนั้นจะดูแลฟื้นฟูชุมชน โดยการทำงานของ 4 กระทรวงหลักร่วมกับชุมชนและจังหวัด โดยเฉพาะเด็กเล็กจะดูแลทั้งการศึกษา พัฒนาการ และใช้โอกาสนี้ยกระดับการดูแลสวัสดิการองค์รวมของคนในตำบลทั้งผู้สูงอายุ คนพิการในพื้นที่ และส่งเสริมอาชีพการมีงานทำของคนในพื้นที่ให้พึ่งพาตนเอง รวมไปถึง ปรับกรอบความคิดชุมชนที่ต้องไม่ยุ่งเกี่ยวกับยาเสพติดและปราศจากความรุนแรงทุกรูปแบบ วางมาตรการแก้ปัญหาภาพรวมที่เป็นความเสี่ยงกับเด็ก เป็นโมเดลสวัสดิการองค์รวมระดับพื้นที่ที่เกิดจากการมีส่วนร่วมของทุกฝ่ายเพื่อขยายผลไปยังพื้นที่อื่น

ส่งสัญญาณสังคม "เรียนรู้ความสูญเสีย" สู่ "พลังแก้ปัญหาความรุนแรง" ทุกมิติ
ส่งสัญญาณสังคม “เรียนรู้ความสูญเสีย” สู่ “พลังแก้ปัญหาความรุนแรง” ทุกมิติ
ด้าน ศ.ดร.สมพงษ์ จิตระดับ กรรมการในคณะกรรมการส่งเสริมการพัฒนาเด็กและเยาวชนแห่งชาติ (กดยช.) กล่าวว่า รัฐบาลควรมองศูนย์เด็กเล็ก อบต.อุทัยสวรรค์ หนองบัวลำภู เป็นศูนย์ปฏิบัติการบูรณาการ 4 กระทรวงหลักทั้ง พม. มท. ศธ. และ สธ. ที่จะแก้ปัญหาทุกด้าน ทั้งยาเสพติด ความรุนแรง การศึกษา และสุขภาพจิต เรียนรู้บทเรียนครั้งสำคัญ เพื่อการเปลี่ยนแปลงทุกมิติ ทำให้ศูนย์แห่งนี้ได้รับโอกาสมากขึ้น เด็กได้รับการศึกษาจนถึงระดับปริญญาตรี ชุมชนสามารถพึ่งตนเองจากการมีงานทำ มีสุขภาพจิตที่ดี และปลอดยาเสพติด หากทำสำเร็จความสูญเสียครั้งยิ่งใหญ่จะเป็นคุณูปการให้กับสังคมวงกว้าง เกิดโมเดลที่ดีขยายไปยังพื้นที่อื่น

“ครั้งนี้เป็นความสูญเสียครั้งยิ่งใหญ่กระทบจิตใจคนทั้งประเทศ อย่าทำให้ความหวังคนไทยเป็นเหมือนไฟไหม้ฟาง เพราะองค์ประกอบที่ครบ ทั้ง 1.ความเครียดของคน จนเกิดอาการคลุ้มคลั่ง จนตรอก และถูกบีบจากแรงกดดันต่างๆ 2.ยาเสพติดที่ระบาดไปทั่ว 3.อาวุธที่หาได้ง่ายโดยเฉพาะปืน และ 4.พฤติกรรมเลียนแบบ จะเป็นชนวนที่ก่อให้เหตุการณ์ความรุนแรงปะทุขึ้นมาอีกได้ การทำงานครั้งนี้รัฐบาลต้องวางมาตรการ นโยบายระยะยาว เอาจริงเอาจัง ประกาศสงครามกับยาเสพติด ต้องทำให้การศึกษาเด็กปฐมวัยได้รับการคุ้มครอง ได้รับบริการที่ดี ให้ชุมชนปลอดยาเสพติด ปราศจากความรุนแรงอย่างแท้จริง” ศ.ดร.สมพงษ์ กล่าวย้ำ

ส่งสัญญาณสังคม “เรียนรู้ความสูญเสีย” สู่ “พลังแก้ปัญหาความรุนแรง” ทุกมิติ
ทีมข่าวการพัฒนาสังคม เห็นด้วยกับการสร้างฐานรากของชุมชนที่เข้มแข็งพึ่งพาตนเองได้ เพื่อเป็นเกราะคุ้มภัยและสกัดปัญหาต่างๆ โดยที่ภาครัฐต้องเอาจริงเอาจังเป็นหลักใหญ่สนับสนุนกลไกต่างๆให้ขับเคลื่อนภายใต้บริบทที่สอดรับกับวิถีชุมชนคงไม่มีใครอยากเห็นบทเรียนของความสูญเสียเด็กจากความรุนแรงเกิดขึ้นซ้ำแล้วซ้ำเล่า และเพียงแก้ปัญหาด้วยการเยียวยา ถอดบทเรียน

แล้วท้ายสุดก็เป็นเพียง “ไฟไหม้ฟาง” ที่ไร้ซึ่งความจริงจังจริงใจแก้ปัญหา และนับวันรอเชื้อไฟปะทุขึ้นมาอีกครั้ง.

ขอบคุณแหล่งที่มา : thairath.co.th


ติดตามข่าวสารได้ที่ have-a-look.net





Power by : ATOMYMAXSITE 2.9
โรงเรียนบ้านกลาง นาแห้ว หมู่8 ตำบลนาพึง อำเภอนาแห้ว จังหวัดเลย สพป.ลย3
webmaster โรงเรียนบ้านกลาง นาแห้ว หมู่8 ตำบลนาพึง อำเภอนาแห้ว จังหวัดเลย สพป.ลย3@2010-2011 under GNU General Public License Edit&Applied by Chudsagorn phikulthong