[x] ปิดหน้าต่างนี้
Powered by ATOMYMAXSITE 2.9
โรงเรียนบ้านกลาง นาแห้ว
ระบบสมาชิก
Username :
Password :
[ สมัครสมาชิก ] | [ ลืมรหัสผ่าน ]
สมาชิกทั้งหมด 3 คน
สมาชิกที่กำลังออนไลน์ 0 คน
เมนูหลัก
link banner
e-Learning

ข้อมูลผู้บริหาร
หมวดหมู่ blog
ค้นหาจาก google

 

  

   เว็บบอร์ด >> ห้องนั่งเล่น >>
เหตุอากาศแปรปรวน ไตรมาส 3 จีดีพีเกษตรหดตัว  VIEW : 124    
โดย ปอนด์

UID : ไม่มีข้อมูล
โพสแล้ว : 653
ตอบแล้ว :
ระดับ : 20
Exp : 73%
ออฟไลน์ :
IP : xxx

 
เมื่อ : เสาร์์ ที่ 5 เดือน พฤศจิกายน พ.ศ.2565 เวลา 17:44:12    ปักหมุดและแบ่งปัน

เหตุอากาศแปรปรวน ไตรมาส 3 จีดีพีเกษตรหดตัว

นายฉันทานนท์ วรรณเขจร เลขาธิการสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร (สศก.) เผยถึงภาวะเศรษฐกิจการเกษตรในไตรมาส 3 ปี 2565 (ก.ค.-ก.ย.) หดตัว 1.8% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปี 2564 ในขณะที่ช่วงไตรมาส 1-2 ขยายตัว 4.7% และ 4.4% ตามลำดับ เนื่องจากสภาพอากาศแปรปรวน ประกอบกับปรากฏการณ์ลานีญาที่มีกำลังแรงขึ้น อิทธิพลของลมมรสุมและพายุที่เข้ามาหลายระลอก การเกิดน้ำท่วมในบางพื้นที่เป็นอุปสรรคต่อการเก็บเกี่ยวผลผลิตสินค้าเกษตร และผลผลิตบางส่วนได้รับความเสียหาย

สำหรับแนวโน้มเศรษฐกิจการเกษตรในปี 2565 คาดว่าจะขยายตัวอยู่ในช่วง 2-3% เมื่อเทียบกับปี 2564 จากปัจจัยสนับสนุนด้านสภาพอากาศโดยทั่วไปที่ยังคงเอื้ออำนวย ปริมาณน้ำในอ่างเก็บน้ำและตามแหล่งน้ำธรรมชาติมีมากกว่าปีที่ผ่านมา ประกอบกับความร่วมมือของภาคส่วนต่างๆในการสนับสนุนและส่งเสริมให้เกษตรกรใช้เทคโนโลยีในการผลิต ยกระดับสินค้าเกษตรให้มีคุณภาพมาตรฐาน บริหารจัดการการผลิตให้สอดคล้องกับความต้องการของตลาด รวมถึงการเปิดประเทศ ทำให้มีการ เดินทางและขนส่งสินค้าระหว่างประเทศได้มากขึ้น ส่งผลให้ความต้องการสินค้าเกษตร ทั้งในประเทศและต่างประเทศเพิ่มขึ้น

อย่างไรก็ตามยังมีปัจจัยเสี่ยงจากความแปรปรวนของสภาพอากาศ

ปรากฏการณ์ ลานีญาอาจจะต่อเนื่องไปถึงต้นปี 2566 ต้นทุนการผลิตที่สูงขึ้นตามราคาปัจจัยการผลิตทั้งราคาน้ำมัน ปุ๋ยเคมี สารกำจัดศัตรูพืช และอาหารสัตว์ รวมถึงสถานการณ์ความขัดแย้งระหว่างรัสเซียและยูเครนที่ยังคงยืดเยื้อ และเศรษฐกิจโลกที่มีแนวโน้มชะลอตัว

เหตุอากาศแปรปรวน ไตรมาส 3 จีดีพีเกษตรหดตัว
ดร.ทัศนีย์ เมืองแก้ว รองเลขาธิการ สศก. เผยถึงรายละเอียดภาวะเศรษฐกิจการเกษตรของแต่ละสาขา ว่า สาขาพืช หดตัว 2.8% พืชที่มีผลผลิตลดลง ได้แก่ มันสำปะหลัง, สับปะรดโรงงาน, ยางพารา, ทุเรียน, มังคุด และเงาะ ส่วนพืชที่มีผลผลิตเพิ่มขึ้น ได้แก่ ข้าวนาปี, ข้าวนาปรังจากภาคใต้, ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์, ปาล์มน้ำมัน และลำไย

สาขาปศุสัตว์ ขยายตัว 1.7% สินค้าปศุสัตว์ที่มีผลผลิตเพิ่มขึ้นคือ ไก่เนื้อและโคเนื้อ ส่วนสินค้าปศุสัตว์ที่มีผลผลิตลดลงคือ สุกร, ไข่ไก่ และน้ำนมดิบ

สาขาประมง หดตัว 1.5% เนื่องจากสภาพอากาศที่แปรปรวนประกอบกับราคาน้ำมันที่สูงขึ้น ทำให้มีการออกเรือจับสัตว์น้ำลดลง และกุ้งทะเลเพาะเลี้ยงลดลงเนื่องจากสภาพอากาศที่เปลี่ยนแปลงบ่อยและโรคกุ้ง ส่งผลให้กุ้งโตช้าและกินอาหารน้อย กุ้งที่จับได้จึงมีขนาดเล็กลง ส่วนปลานิล และปลาดุก มีผลผลิตเพิ่มขึ้น เนื่องจากมีปริมาณน้ำเพียงพอต่อการเลี้ยง

สาขาบริการทางการเกษตร ขยายตัว 2.9% กิจกรรมการเตรียมดินและการเก็บเกี่ยวเพิ่มขึ้น สาขาป่าไม้ ขยายตัว 1.8% เนื่องจากผลผลิตไม้ยูคาลิปตัส ถ่านไม้ ครั่ง และรังนกเพิ่มขึ้น.

ขอบคุณแหล่งที่มา : thairath.co.th


ติดตามข่าวสารได้ที่ have-a-look.net





Power by : ATOMYMAXSITE 2.9
โรงเรียนบ้านกลาง นาแห้ว หมู่8 ตำบลนาพึง อำเภอนาแห้ว จังหวัดเลย สพป.ลย3
webmaster โรงเรียนบ้านกลาง นาแห้ว หมู่8 ตำบลนาพึง อำเภอนาแห้ว จังหวัดเลย สพป.ลย3@2010-2011 under GNU General Public License Edit&Applied by Chudsagorn phikulthong