[x] ปิดหน้าต่างนี้
Powered by ATOMYMAXSITE 2.9
โรงเรียนบ้านกลาง นาแห้ว
ระบบสมาชิก
Username :
Password :
[ สมัครสมาชิก ] | [ ลืมรหัสผ่าน ]
สมาชิกทั้งหมด 3 คน
สมาชิกที่กำลังออนไลน์ 0 คน
เมนูหลัก
link banner
e-Learning

ข้อมูลผู้บริหาร
หมวดหมู่ blog
ค้นหาจาก google

 

  

   เว็บบอร์ด >> ห้องนั่งเล่น >>
ความผิดพลาด 3 อย่างที่พ่อแม่ทำแล้วลูกมีโอกาสเติบโตมาเป็นคนที่ยึดเอาตัวเองเป็นศูนย์กลาง  VIEW : 180    
โดย

UID : ไม่มีข้อมูล
โพสแล้ว : 377
ตอบแล้ว :
ระดับ : 15
Exp : 72%
ออฟไลน์ :
IP : xxx

 
เมื่อ : พฤหัสบดี ที่ 25 เดือน สิงหาคม พ.ศ.2565 เวลา 02:43:53    ปักหมุดและแบ่งปัน

Narcissistic Personality Disorder หรือที่เราเรียกว่า ‘โรคหลงตัวเอง’ ซึ่งเป็นโรคบุคลิกภาพผิดปกติชนิดหนึ่ง ยึดตัวเองเป็นศูนย์กลาง ต้องการการยกยอชื่นชม ขาดความเห็นใจผู้อื่น และหมกมุ่นอยู่กับการโอ้อวดตัวตนของตัวเอง โคดี อิซาเบล (Cody Isabel) เป็นนักประสาทวิทยาที่ศึกษาเกี่ยวกับเรื่องนี้พบว่าความสัมพันธ์และการเลี้ยงดูในครอบครัวเป็นหนึ่งในตัวชี้นำที่ชัดเจนที่สุดอย่างหนึ่งว่าเด็กที่โตมาในครอบครัวแบบไหนมีโอกาสที่จะเป็นโรคนี้ โตมาด้วยความรู้ว่าตัวเองเหนือกว่าทุกคน ทำตัวยิ่งใหญ่และไร่ความเห็นอกเห็นใจผู้อื่น

จากประสบการณ์ของเขานี่คือข้อผิดพลาด 3 อย่างที่พ่อแม่ทำแล้วลูกมีโอกาสเติบโตมาเป็นคนหลงตัวเองได้

1.    เมินเฉยต่อพฤติกรรมแย่ ๆ ของตัวเอง

เด็ก ๆ เรียนรู้โดยการสังเกตุ นั่นหมายความว่าพวกเขาจะเรียนรู้จะสิ่งที่คนรอบ ๆ ตัวทำ และถ้าพ่อแม่เป็นคนที่ไม่รับรู้ถึงพฤติกรรมแย่ ๆ ของตนเอง เด็กก็จะเลียนแบบเมื่อโตขึ้นมาด้วย

ยกตัวอย่างเช่นว่าไปนั่งทานข้าวที่ร้านอาหาร พนักงานเสิร์ฟเกิดทำน้ำหกใส่คุณ แทนที่จะรับมือกับสถานการณ์ด้วยอาการที่สงบ หาผ้า หากระดาษมาเช็ด แต่คุณกลับปี๊ดแตก โวยวาย ด่าพนักงานเสิร์ฟจนอับอาย เด็กที่อยู่ตรงนั้นก็จะคิดแล้วครับว่าสิ่งที่คุณทำมันคือ “โอเค”

การเป็นพ่อแม่ที่ดีนั้นต้องสอนให้เด็ก ๆ เข้าใจถึงความสำคัญของความฉลาดทางด้านอารมณ์​ (EQ - Emotional Intelligence) ว่าเป็นยังไง โดยเฉพาะในส่วนสำคัญอย่างการเห็นอกเห็นใจคนอื่นที่พ่อแม่สามารถเป็นตัวอย่างที่ดีได้เสมอ

เมื่อไหร่ก็ตามที่มีโอกาสคุยกับลูก ๆ ลองถามเขาว่าาสถานการณ์นี้เขารู้สึกแบบไหน อย่างโดนเพื่อนแย่งของเล่นไปแล้วร้องไห้ “หนูรู้สึกโกรธหรือเสียใจรึเปล่าที่เพื่อนแย่งของเล่นไป?” หรือไปเดินห้างแล้วอยากได้ของเล่นแต่พ่อแม่ปฏิเสธก็ลองถามเขาดูว่า “หนูผิดหวังที่ไม่ได้ของเล่นใช่ไหมครับ?” แล้วก็ค่อย ๆ อธิบายสถานการณ์นั้นให้ลูกฟัง การเรียนรู้และพัฒนา EQ จะช่วยทำให้เขาเข้าใจอารมณ์ตัวเองและคนอื่นมากขึ้นในอนาคตด้วย

2. ไม่สะท้อนความรู้สึกหรือรับทราบความรู้สึกของลูก

ถ้าคุณทำให้ลูกรู้สึกอายหรือไม่สนใจความรู้สึกของลูก สิ่งที่คุณกำลังทำคือการบอกเขาว่าสิ่งที่เขารู้สึกเป็นเรื่องที่ผิด นำมาซึ่งความเข้าใจผิด ๆ ในการควบคุมอารมณ์และพฤติกรรม ที่จะนำไปสู่ปัญหาต่าง ๆ อีกมากมายที่ตามมาในอนาคต ตั้งแต่การพยายามกดความรู้สึกด้วยสารเสพติดหรือการพยายามทำตัวโดดเด่นดีกว่าคนอื่นเพื่อปกปิดความรู้สึกข้างใน งานวิจัยหลายชิ้นต่างบ่งบอกว่าความอับอาย รู้สึกไม่ปลอดภัยและความกลัว ต่างเป็นต้นตอของโรคหลงตัวเองด้วยกันทั้งสิ้น

การสะท้อนความรู้สึกหมายถึงการที่คุณได้นั่งคุยกับลูก เข้าใจสิ่งที่เขารู้สึกอยู่ และนิยามอารมณ์เหล่านี้ให้เขาเข้าใจว่ามันคืออะไร รับฟังและรับรู้ถึงอารมณ์เหล่านั้นว่าสิ่งที่พวกเขารู้สึกมันไม่ได้ผิด มันเป็นเรื่องธรรมชาติและช่วยกันหาทางแก้ไขหาวิธีรับมือ

ลองจินตนาการถึงการไปรับลูกที่โรงเรียน เขาขึ้นรถมาหน้าบูดบึ้ง ปิดประตูเสียงดัง แทนที่จะรีบสรุปด่าก่อนเลยว่ามารยาทไม่ดี สิ่งที่พ่อแม่ควรทำคือสะท้อนอารมณ์ความรู้สึกที่เขากำลังเป็นอยู่ก่อน

erbamadencilik.com





Power by : ATOMYMAXSITE 2.9
โรงเรียนบ้านกลาง นาแห้ว หมู่8 ตำบลนาพึง อำเภอนาแห้ว จังหวัดเลย สพป.ลย3
webmaster โรงเรียนบ้านกลาง นาแห้ว หมู่8 ตำบลนาพึง อำเภอนาแห้ว จังหวัดเลย สพป.ลย3@2010-2011 under GNU General Public License Edit&Applied by Chudsagorn phikulthong