[x] ปิดหน้าต่างนี้
Powered by ATOMYMAXSITE 2.9
โรงเรียนบ้านกลาง นาแห้ว
ระบบสมาชิก
Username :
Password :
[ สมัครสมาชิก ] | [ ลืมรหัสผ่าน ]
สมาชิกทั้งหมด 3 คน
สมาชิกที่กำลังออนไลน์ 0 คน
เมนูหลัก
link banner
e-Learning

ข้อมูลผู้บริหาร
หมวดหมู่ blog
ค้นหาจาก google

 

  

   เว็บบอร์ด >> ห้องนั่งเล่น >>
นักศึกษาด้านการเกษตรมีแนวโน้มลดจำนวนลง  VIEW : 183    
โดย นาเดีย

UID : ไม่มีข้อมูล
โพสแล้ว : 236
ตอบแล้ว :
ระดับ : 12
Exp : 42%
ออฟไลน์ :
IP : xxx

 
เมื่อ : อาทิตย์ ที่ 7 เดือน สิงหาคม พ.ศ.2565 เวลา 17:28:53    ปักหมุดและแบ่งปัน

หลายฝ่ายมองว่าอาจส่งผลต่อระบบการเรียนการสอนของสถาบันการศึกษาและความมั่นคงทางอาหารของประเทศในอนาคต ทำให้ผู้บริหารสถานศึกษาต่างจัดหาเทคโนโลยีสมัยใหม่ มาใช้ในการเรียนการสอน เพื่อสร้างความเชื่อมั่น และจูงใจให้นักศึกษากลับมาเรียนด้านวิชาชีพเกษตรมากขึ้น

โรงเรือนเลี้ยงไก่ไข่ระบบอุโมงค์ลม หรือ ระบบปิด เป็นหนึ่งในนวัตกรรมสมัยใหม่ ที่นายสุรศักดิ์ เทียบรัตน์ ผู้อำนวยการวิทยาลัยเกษตร และเทคโนโลยีเชียงใหม่ ใช้ในหลักสูตรการเรียนการสอนนักศึกษา เนื่องจากใช้แรงงานน้อย ควบคุมอุณหภูมิ และแสงสว่างได้ ป้องกันโรคระบาด เพิ่มจำนวนการเลี้ยงไก่ได้มากว่าปกติหนึ่งเท่าตัว เจริญเติบโตดีขึ้น อัตราการตายต่ำ ป้องกันแมลง และศัตรู 

นอกจากนั้นการยังมีหลักสูตรที่ใช้นวัตกรรมสมัยใหม่ อาทิ การใช้โดรนในการให้ปุ๋ย และยาปราบศัตรูพืชในแปลงเกษตร การควบคุมการให้น้ำ และปุ๋ย พืชในโรงเรือนด้วยระบบ IOT ที่สามารถควบคุมการรดน้ำ และการให้ปุ๋ย ให้ตรงตามความต้องการของพืช และเป็นการปลูกพืช โดยใช้พื้นที่ และแรงงานน้อยแต่ได้ผลผลิตสูง และมีคุณภาพ นับเป็นนวัตกรรมสมัยใหม่ที่สถาบันการศึกษาแห่งนี้ ที่นำมาใช้ในการเรียนการสอน เพื่อเป็นแรงจูงใจให้นักเรียน ที่เรียนจบในระดับมัธยมศึกษา หันมาเรียนด้านการเกษตรมากขึ้น หลังจากที่ผ่านมา จำนวนนักศึกษาลดลงร้อยละ 10 ติดต่อกันมาหลายปี ส่วนสาเหตุที่มีนักศึกษามีจำนวนลดลงน่าจะมาจาก จำนวนประชากรเด็กที่ลดลง แผนการเรียน และสถานศึกษาความหลากหลายมีตัวเลือกมากขึ้น ทัศนคติของผู้เรียน และผู้ปกครองที่กลัวว่าจะลำบาก

greatyarmouthauctions.com





Power by : ATOMYMAXSITE 2.9
โรงเรียนบ้านกลาง นาแห้ว หมู่8 ตำบลนาพึง อำเภอนาแห้ว จังหวัดเลย สพป.ลย3
webmaster โรงเรียนบ้านกลาง นาแห้ว หมู่8 ตำบลนาพึง อำเภอนาแห้ว จังหวัดเลย สพป.ลย3@2010-2011 under GNU General Public License Edit&Applied by Chudsagorn phikulthong